วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ


           การโน้มน้าวใจ เป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่ง คือ การใช้ความพยายามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ  ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธี วัจนภาษา และอวัจนภาษาที่เหมาะสม จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์

กลวิธีในการโน้มน้าวใจ

กลวิธีที่ ๑ : แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าว  (ผู้โน้มน้าว : มีความรู้จริง  มีคุณธรรม  มีความปรารถนาดี)

ตัวอย่าง :

  


กลวิธีที่ ๒ : แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล  (ผู้โน้มน้าว : มีเหตุผลหนักแน่น  เหตุผลมีค่าควรแก่การยอมรับ)

ตัวอย่าง :

 
 
กลวิธีที่ ๓ : แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
 
ตัวอย่าง :
 
 
 
กลวิธีที่ ๔ : แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย  (ผู้โน้มน้าวแสดงให้เห็นทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ให้ผู้ถูกโน้มน้าวใช้วิจารณญาณเปรียบเทียบเอง)
 
ตัวอย่าง :
 
 
 
กลวิธีที่ ๕ : สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร (ทำลายอารมณ์ต่อต้าน) ผู้โน้มน้าวจะใช้อารมณ์ขัน ทำบรรยากาศให้ผ่อนคลาย
 
ตัวอย่าง :
 
 

 
กลวิธีที่ ๖ : เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างเเรงกล้า (ผู้โน้มน้าวจะทำให้ผู้ถูกโน้มน้าวเกิดอารมณ์ดีใจ เสียใจ โกรธแค้น วิตกกังวล หรือหวาดกลัว แล้วผู้ถูกโน้มน้าวจะตัดสินใจคล้อยตามผู้โน้มน้าวได้ง่าย)
 
ตัวอย่าง :
 
 

 
ภาษาที่โน้มน้าวใจ
 
ผู้โน้มน้าวใจควรใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ ดังนี้
 
๑. ใช้น้ำเสียงและถ้อยคำเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ หลีกเลี่้ยงน้ำเสียงที่เป็นการขู่บังคับ
 
๒. เลือกใช้คำให้สื่อความหมายตรงตามที่ต้องการ
 
๓. คำนึงถึงจังหวะและความนุ่มนวลเสมอ
 
สรุปควรจำ : น้ำเสียงดี  มีจังหวะ  วาจานุ่มนวล  ควรตรงประเด็น