วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ

การโน้มน้าวใจ


           การโน้มน้าวใจ เป็นพฤติกรรมการสื่อสารอย่างหนึ่ง คือ การใช้ความพยายามเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ  ค่านิยม และการกระทำของบุคคลอื่น โดยใช้กลวิธี วัจนภาษา และอวัจนภาษาที่เหมาะสม จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจประสงค์

กลวิธีในการโน้มน้าวใจ

กลวิธีที่ ๑ : แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าว  (ผู้โน้มน้าว : มีความรู้จริง  มีคุณธรรม  มีความปรารถนาดี)

ตัวอย่าง :

  


กลวิธีที่ ๒ : แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล  (ผู้โน้มน้าว : มีเหตุผลหนักแน่น  เหตุผลมีค่าควรแก่การยอมรับ)

ตัวอย่าง :

 
 
กลวิธีที่ ๓ : แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
 
ตัวอย่าง :
 
 
 
กลวิธีที่ ๔ : แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย  (ผู้โน้มน้าวแสดงให้เห็นทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ให้ผู้ถูกโน้มน้าวใช้วิจารณญาณเปรียบเทียบเอง)
 
ตัวอย่าง :
 
 
 
กลวิธีที่ ๕ : สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร (ทำลายอารมณ์ต่อต้าน) ผู้โน้มน้าวจะใช้อารมณ์ขัน ทำบรรยากาศให้ผ่อนคลาย
 
ตัวอย่าง :
 
 

 
กลวิธีที่ ๖ : เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างเเรงกล้า (ผู้โน้มน้าวจะทำให้ผู้ถูกโน้มน้าวเกิดอารมณ์ดีใจ เสียใจ โกรธแค้น วิตกกังวล หรือหวาดกลัว แล้วผู้ถูกโน้มน้าวจะตัดสินใจคล้อยตามผู้โน้มน้าวได้ง่าย)
 
ตัวอย่าง :
 
 

 
ภาษาที่โน้มน้าวใจ
 
ผู้โน้มน้าวใจควรใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ ดังนี้
 
๑. ใช้น้ำเสียงและถ้อยคำเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจ หลีกเลี่้ยงน้ำเสียงที่เป็นการขู่บังคับ
 
๒. เลือกใช้คำให้สื่อความหมายตรงตามที่ต้องการ
 
๓. คำนึงถึงจังหวะและความนุ่มนวลเสมอ
 
สรุปควรจำ : น้ำเสียงดี  มีจังหวะ  วาจานุ่มนวล  ควรตรงประเด็น

































วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Welcome to my Blogger!


ยินดีต้อนรับนักเรียนและผู้สนใจทุกท่านที่เข้ามายัง blog นี้นะคะ
blog นี้จัดทำโดย มิสชมพูนุช หุ่นช่างทอง
ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

วัตถุประสงค์ในการจัดทำ blog

1. เพื่อเผยแพร่ความรู้เพิ่มเติมให้แก่นักเรียน นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน

2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้นและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์

3. เพื่อเป็นช่องทางให้นักเรียนติดตามงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

4. เพื่อเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน



โลกกว้างใหญ่..แคบลงได้ด้วย "เทคโนโลยี"
จงใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และสร้างเสริมให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด


แบบทดสอบหลังเรียน


แบบฝึกทบทวนความรู้เรื่องสามก๊ก


คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและได้ใจความที่ชัดเจน
๑. วิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่อง “สามก๊ก”
๑.๑ โจโฉ
  ยกตัวอย่างข้อความที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะดังกล่าว
๑.๒ กวนอู
  ยกตัวอย่างข้อความที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะดังกล่าว
๑.๓ เตียวเลี้ยว
  ยกตัวอย่างข้อความที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะดังกล่าว

๒. กวนอูได้รับฉายาว่า “เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ” เนื้อความตอนใดในเรื่องที่สนับสนุนข้อความดังกล่าว นักเรียนคิดว่าการรักษาความสัตย์ในปัจจุบันจำเป็นหรือไม่ เพราะเหตุใด

๓. ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อความต่อไปนี้
๓.๑ ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกำลังมากขึ้น อุปมาเหมือนลูกนกอันขนปีกยังไม่ขึ้นพร้อม แม้เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรังฉะนี้ ถ้าขนขึ้นพร้อมแล้วก็จะบินไปทางไกลได้
- ข้อความข้างต้นกล่าวถึงตัวละครใด
- ตัวละครมีลักษณะเด่นร่วมกับสิ่งเปรียบเทียบอย่างไร
- คำเปรียบเทียบนี้อยู่ในตอนใดของเรื่อง
- คำเปรียบเทียบนี้มีความหมายว่าอย่างไร
๓.๒ ตัวเราก็มิได้รักชีวิต อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ ท่านเร่งกลับไปบอกแก่โจโฉให้ตระเตรียมทหารไว้ให้พร้อม
- ข้อความข้างต้นเป็นคำพูดของตัวละครใด
- สิ่งที่เปรียบเทียบมีลักษณะเด่นร่วมกันอย่างไร
- คำเปรียบเทียบนี้อยู่ในตอนใดของเรื่อง
- คำเปรียบเทียบนี้มีความหมายว่าอย่างไร

๔. รวบรวมสารโน้มน้าวใจที่ปรากฏในเรื่อง อย่างน้อย ๒ ข้อความ และวิเคราะห์กลวิธีการโน้มน้าวใจของสารดังกล่าว
๑) สารโน้มน้าวใจ
    - สารโน้มน้าวใจปรากฏอยู่ในตอนใดของเรื่อง
    - กลวิธีการโน้มน้าวใจ
๒) สารโน้มน้าวใจ
    - สารโน้มน้าวใจปรากฏอยู่ในตอนใดของเรื่อง
    - กลวิธีการโน้มน้าวใจ

๕. โจโฉคิดถูกหรือไม่ที่เลี้ยงดูกวนอูเป็นอย่างดี ถ้านักเรียนเป็นที่ปรึกษาของโจโฉจะสนับสนุนให้โจโฉเลี้ยงดูกวนอูต่อไปหรือไม่ เพราะเหตุใด

๖. นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้างจากเรื่องสามก๊ก และจะนำข้อคิดที่ได้นั้นไปใช้อย่างไร
- ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่องสามก๊ก
- การนำข้อคิดจากเรื่องสามก๊กไปใช้ในชีวิตจริง

๗. หากนักเรียนมีบทบาทเป็นนักวิจารณ์ต้องเขียนคอลัมน์วิจารณ์ในนิตยสาร นักเรียนจะเขียนแสดงทรรศนะวิจารณ์เรื่อง “สามก๊ก” ตอนที่ได้ศึกษานี้ว่าอย่างไร (ที่มา / ข้อสนับสนุน / ข้อสรุป)


มอบหมายงาน "สามก๊ก"

มอบหมายงาน (งานเดี่ยว + นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน)

ให้นักเรียนสร้าง Blog โดยใช้ www.blogger.com
โดยมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละคนปฏิบัติตามหัวข้อที่กำหนดให้ต่อไปนี้

   เลขที่ ๑ - ๑๕     วิเคราะห์ตัวละคร "โจโฉ"
   เลขที่ ๑๖ - ๓๐   วิเคราะห์ตัวละคร "กวนอู"
   เลขที่ ๓๑ - ๔๕  วิเคราะห์ตัวละคร "เตี้ยวเลี้ยว"
   เลขที่ ๔๕ - ๕๐  ประเมินคุณค่าของวรรณคดี "สามก๊ก"

ส่วนประกอบที่ต้องปรากฏใน Blog ของนักเรียน  
๑. ประวัติของผู้จัดทำ Blog
๒. วัตถุประสงค์ในการจัดทำ
๓. เนื้อหา ซึ่งจะแยกออกเป็น ๒ กรณี ดังนี้
 
    กรณีที่ ๑  วิเคราะห์ตัวละคร
    ๑. รูปภาพของตัวละคร
    ๒. อธิบายบุคลิกลักษณะของตัวละคร พร้อมยกตัวอย่างข้อความจากบทประพันธ์
    ๓. ลักษณะนิสัยของตัวละคร (วิเคราะห์ที่ปรากฏใน ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ)
         พร้อมยกตัวอย่างข้อความจากบทประพันธ์
    ๔. การนำข้อคิดจากตัวละคร ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

    กรณีที่ ๒ ประเมินคุณค่าของวรรณคดี "สามก๊ก"
    ๑. แนวคิดที่ได้รับจากวรรณคดีสามก๊ก
    ๒. วิเคราะห์การใช้ภาษา
         โดยเปรียบเทียบการใช้ภาษาในหนังสือเรียนกับการใช้ภาษาในภาพยนตร์
    ๓. ประเมินคุณค่าของวรรณคดีสามก๊ก
    ๔. การนำข้อคิดจากสามก๊กไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

๔. แหล่งอ้างอิงข้อมูล

หมายเหตุ : เตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงาน คนละ ๓ นาที







ชมภาพยนตร์สามก๊ก


สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

--กวนอูทำสัญญา ๓ ข้อ--




--กวนอูคืนตราตั้ง--





--ตอนจบ : ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ--
(กวนอูลาจากโจโฉ เพื่อไปหาเล่าปี่)




sources :

สามก๊ก: กวนอูรับราชการกับโจโฉ


สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
เตียวเลี้ยวกล่อมกวนอูให้ยอมแพ้ต่อโจโฉ

ตัวละครที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตอนนี้


--กวนอู--

ประวัติโดยย่อ : กวนอูเป็นน้องร่วมสาบานของเล่าปี่ มีนิสัยห้าวหาญ และมีความซื่อสัตย์
     ครั้งสงครามชีจิ๋ว เล่าปี่พ่ายแพ้ต่อกองทัพโจโฉยับเยิน กวนอูซึ่งรักษาเมืองแห้ฝืออยู่ถูกกองทัพ โจโฉโจมตีอย่างหนัก กวนอูยกทัพออกไปรบนอกเมืองปรากฏว่าถูกกองทัพโจโฉล้อมไว้ทุกทิศทาง ด้วยความจำเป็นที่ต้องดูแลพี่สะใภ้และตามหาเล่าปี่-เตียวหุย พี่น้องร่วมสาบานทาให้ต้องยอมแพ้ในที่สุด


--โจโฉ--

ประวัติโดยย่อ : ผู้สาเร็จราชการของราชวงศ์ฮั่น (ตำแหน่งในตอนนั้น) เป็นคนมีความสามารถยอด เยี่ยมทุกด้าน รักคนมีฝีมือ แต่มีข้อเสียในเรื่องความขี้ระแวง
     ในครั้งสงครามชีจิ๋ว โจโฉได้สั่งให้กองทัพเข้าตีชีจิ๋วเป็น 5 กองทัพ ทำให้เล่าปี่ต้องพ่ายแพ้ย่อยยับ หลังจากที่เล่าปี่พ่ายแพ้ และโจโฉเข้ายึดเมืองแห้ฝือได้แล้ว มีความคิดอยากให้กวนอูเข้ามารับราชการด้วย จึงได้ส่งเตียวเลี้ยวไปเกลี้ยกล่อม หลังจากกวนอูเข้ามายอมแพ้แล้ว โจโฉก็ได้จัดงานเลี้ยงกวนอูทุกวันไม่ได้ขาด รวมไปถึงมอบม้าเซ็กเธาว์ ม้าชั้นเลิศให้กวนอูอีกด้วย



--เตียวเลี้ยว--

ประวัติโดยย่อ :  เตียวเลี้ยว ผู้มีจิตใจห้าวหาญ รักความยุติธรรม ฉลาด และมีวาทศิลป์
     หลังจากลิโป้พ่ายแพ้แก่โจโฉ เตียวเลี้ยวก็ได้เข้าร่วมกับกองทัพของโจโฉ ในครั้งสงครามชีจิ๋ว เตียวเลี้ยวขออาสาไปเกลี้ยกล่อมกวนอูให้มายอมแพ้ (เนื่องจากเตียวเลี้ยวต้องการทดแทนบุญคุณของกวนอู ไม่อยากให้กวนอูต้องมาตายเปล่า เพราะว่าคนที่ช่วยเตียวเลี้ยวไว้เมื่อคราวที่เตียวเลี้ยวโดนโจโฉจับ ก็คือกวนอู ซึ่งได้บอกแก่โจโฉให้ไว้ชีวิตเตียวเลี้ยวในคราวนั้น)



ข้อมูลเมือง

1. ชีจิ๋ว (เมืองของเล่าปี่)

    ในสามก๊กเรียกว่าเป็น ชิวจิ๋วอีกชื่อหนึ่ง เป็นแคว้น 1 ใน 9 สมัยอู๊เต้ ( ก่อน ค.ศ. 2205 – ก่อน ค.ศ. 2197 ) มีอาณาบริเวณครอบคลุมบางส่วนของมณฑลเจียงซู ซานตุง และอันฮุย อำเภอถางเฉิง มณฑลซานตุงในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของแคว้น

2. ฮูโต๋ (เมืองของโจโฉ)
    ราชธานี โจโฉเป็นผู้ย้ายราชธานีจากเมืองลกเอี๋ยงไปตั้งที่เมืองฮูโต๋ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างประมาณ 100 ไมล์ ความในสามก๊กว่า “โจโฉได้ฟังดังนั้น ก็มีความยินดี ครั้งเวลารุ่งเช้าก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วทูลว่าเมืองลกเอี๋ยงนี้มีอันตราย จลาจลร้างโรยมาแต่ครั้งตั๋งโต๊ะแล้ว บัดนี้พระองค์ได้เสด็จกลับมาอยู่ บ้านเมืองก็มิได้ปรกติ ขัดสนข้าวปลาอาหาร ถ้าจะให้ตกแต่งบ้างเมืองแลค่ายคูประตูหอรบขึ้นเล่า ก็จะลาบากแก่ไพร่พลทั้งปวกนัก แลเมืองฮูโต๋นั้นประกอบด้วยค่ายคูประตูหอรบ อาณาประชาราษฎร์ก็มีทรัพย์สินมั่งคั่ง ข้าวปลาอาหารก็บริบูรณ์ ด้วยใกล้เมืองโลเอี๋ยง ถึงมาตรว่าจะมีสงครามก็จะได้ป้องกันสะดวก ข้าพเจ้าขอเชิญเสด็จพระองค์ไปอยู่เมืองฮูโต๋ เห็นขุนนางและราษฎรทั้งปวงจะมีความสุข” เมื่อโจผีถอดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากราชสมบัติ และตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ได้ย้ายราชธานีไปลกเอี๋ยงชั่วคราว แล้วกลับตั้งฮูโต๋เป็นราชธานีใหม่อีกครั้งหนึ่ง และเปลี่ยนชื่อเป็นสวี่ชาง ปัจจุบันคืออาเภอสวี่ชาง ในมณฑลเหอหนาน เป็นศูนย์กลางการผลิตใบยาสูบที่สาคัญที่สุดของประเทศจีน ตัวเมืองเดิมอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอาเภอนี้

3. แห้ฝือ (เมืองที่กวนอูควบคุม)
    เป็นเมืองอยู่ในแคว้นชีจิ๋วของเล่าปี่ อยู่ทางทิศตะวันตกของชีจิ๋ว เดิมลิโป้ก็เคยพ่ายแพ้และถูกจับตัวที่นี่

4. เซียงจิ๋ว (เมืองของอ้วนเสี้ยว)
     เซียงจิ๋ว เป็นชื่อมณฑลที่อยู่ภายใต้อานาจของอ้วนเสี้ยวอยู่ทางตะวันตกของกิจิ๋ว

5. กิจิ๋ว (เมืองของอ้วนเสี้ยว)
     กิจิ๋ว เป็น แคว้น 1 ใน 9 สมัยอู๊เต้ ( ก่อน ค.ศ. 2205–ก่อน ค.ศ. 2197 ) มีอานาบริเวณครอบคลุมบางส่วนของมณฑลเหอเป่ย ซานสี เหอหนาน ตอนเหนือของแม่น้าเหลือง ตอนตะวันตกของมณฑลเหลียงหนิง และเหลียวเหอ ปัจจุบันมีอำเภอจี้ในมณฑลเหอเป่ย เป็นอนุสรณ์ของแคว้นโบราณแห่งหนึ่ง เป็นที่ตั้งเมืองหลวงเดิม ความตอนหนึ่งในสามก๊กว่า “พระเจ้าเลนเต้จึงเลื่อนที่ให้ฮองฮูสงเป็นที่ติจงกุ๋น แปลว่า ทหารสาหรับรักษาพระองค์ ให้กินเมืองบุยจิวด้วย” คาว่า “บุยจิว” ในต้นฉบับภาษาจีน เขียนว่า จี้โจว คือแคว้นกิจิ๋วนี้ ถัดจากฮองฮูสง ฮันฮกเป็นผู้ครองแคว้น ต่อมาอ้วนเสี้ยวแย่งแคว้นกิจิ๋วได้จากฮันฮก ภายหลังโจโฉยกไปปราบอ้วนเสียวยึดแคว้นได้ทั้งหมด

*********************************
นักเรียนติดตามชม
สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
ได้ในบทความต่อไป
"ชมภาพยนตร์สามก๊ก"


Sources : www.thaisamkok.com