วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกทบทวนความรู้เรื่องสามก๊ก


คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและได้ใจความที่ชัดเจน
๑. วิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่อง “สามก๊ก”
๑.๑ โจโฉ
  ยกตัวอย่างข้อความที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะดังกล่าว
๑.๒ กวนอู
  ยกตัวอย่างข้อความที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะดังกล่าว
๑.๓ เตียวเลี้ยว
  ยกตัวอย่างข้อความที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะดังกล่าว

๒. กวนอูได้รับฉายาว่า “เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ” เนื้อความตอนใดในเรื่องที่สนับสนุนข้อความดังกล่าว นักเรียนคิดว่าการรักษาความสัตย์ในปัจจุบันจำเป็นหรือไม่ เพราะเหตุใด

๓. ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อความต่อไปนี้
๓.๑ ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกำลังมากขึ้น อุปมาเหมือนลูกนกอันขนปีกยังไม่ขึ้นพร้อม แม้เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรังฉะนี้ ถ้าขนขึ้นพร้อมแล้วก็จะบินไปทางไกลได้
- ข้อความข้างต้นกล่าวถึงตัวละครใด
- ตัวละครมีลักษณะเด่นร่วมกับสิ่งเปรียบเทียบอย่างไร
- คำเปรียบเทียบนี้อยู่ในตอนใดของเรื่อง
- คำเปรียบเทียบนี้มีความหมายว่าอย่างไร
๓.๒ ตัวเราก็มิได้รักชีวิต อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ ท่านเร่งกลับไปบอกแก่โจโฉให้ตระเตรียมทหารไว้ให้พร้อม
- ข้อความข้างต้นเป็นคำพูดของตัวละครใด
- สิ่งที่เปรียบเทียบมีลักษณะเด่นร่วมกันอย่างไร
- คำเปรียบเทียบนี้อยู่ในตอนใดของเรื่อง
- คำเปรียบเทียบนี้มีความหมายว่าอย่างไร

๔. รวบรวมสารโน้มน้าวใจที่ปรากฏในเรื่อง อย่างน้อย ๒ ข้อความ และวิเคราะห์กลวิธีการโน้มน้าวใจของสารดังกล่าว
๑) สารโน้มน้าวใจ
    - สารโน้มน้าวใจปรากฏอยู่ในตอนใดของเรื่อง
    - กลวิธีการโน้มน้าวใจ
๒) สารโน้มน้าวใจ
    - สารโน้มน้าวใจปรากฏอยู่ในตอนใดของเรื่อง
    - กลวิธีการโน้มน้าวใจ

๕. โจโฉคิดถูกหรือไม่ที่เลี้ยงดูกวนอูเป็นอย่างดี ถ้านักเรียนเป็นที่ปรึกษาของโจโฉจะสนับสนุนให้โจโฉเลี้ยงดูกวนอูต่อไปหรือไม่ เพราะเหตุใด

๖. นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้างจากเรื่องสามก๊ก และจะนำข้อคิดที่ได้นั้นไปใช้อย่างไร
- ข้อคิดที่ได้รับจากเรื่องสามก๊ก
- การนำข้อคิดจากเรื่องสามก๊กไปใช้ในชีวิตจริง

๗. หากนักเรียนมีบทบาทเป็นนักวิจารณ์ต้องเขียนคอลัมน์วิจารณ์ในนิตยสาร นักเรียนจะเขียนแสดงทรรศนะวิจารณ์เรื่อง “สามก๊ก” ตอนที่ได้ศึกษานี้ว่าอย่างไร (ที่มา / ข้อสนับสนุน / ข้อสรุป)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น